เมนู

อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในสัลลัตถสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตตฺร คือในชนสองจำพวกเหล่านั้น. บทว่า อนุเวธํ
วิชฺเฌยฺยุํ
ความว่า ยิงไปในระหว่างนิ้ว หรือในระหว่างนิ้วทั้งสอง อันเป็น
ส่วนที่ใกล้ปากแผลนั้นเท่านั้น. เวทนาก็เสียดแทงบุรุษผู้ถูกยิงอย่างนี้แล้ว
ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรก. แม้โทมนัสเวทนา เมื่อเกิดขึ้นครั้งหลัง
ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรกด้วยประการดังนี้แล. บทว่า ทุกฺขาย
เวทนาย นิสฺสรณํ
ความว่า สมาธิมรรคและผล เป็นเครื่องสลัดออก
แม้ทุกขเวทนา เขาย่อมไม่รู้เครื่องสลัดออกนั้น ย่อมรู้ว่ากามสุขเท่านั้น
เป็นเครื่องสลัดออก. บทว่า ตาสํ เวทนานํ ได้แก่ สุขทุกขเวทนาเหล่านั้น.
บทว่า สญฺญคตฺโต นํ เวทยติ ความว่า เขาเป็นผู้ประกอบด้วยกิเลส
ย่อมเสวยเวทนานั้น. ไม่ประกอบหาเสวยเวทนานั้นไม่. บทว่า สญฺญตฺโต
ทุกฺขสฺมา
ได้แก่ เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ อธิบายว่า
ประกอบด้วยทุกข์.
บทว่า สงฺขาตธมฺมสฺส ความว่า ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว คือผู้มี
ธรรมอันชั่งได้แล้ว. บทว่า พหุสฺสุตสฺส ความว่า เป็นพหูสูตในทาง
ปริยัติ เป็นพหูสูตในทางปฏิเวธ. บทว่า สมฺมา ปชานาติ ภวสฺส ปารคู
ความว่า ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งภพคือนิพพาน ย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพานนั้นแล
โดยชอบ. อารัมมณานุสัย พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรแม้นี้. เกจิอาจารย์
กล่าวว่า ก็บรรดาพระอริยสาวก พระขีณาสพมีหน้าที่ ในอารัมมณานุสัยนี้.
แม้พระอนาคามี ก็ไม่ควรดังนี้.
จบ อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ 6